⚉ ทดสอบ vs สอบเทียบ

 คำว่าทดสอบ (Testing) และสอบเทียบ (Calibration) หากท่านทำงานอยู่ในสายการผลิตหรือองค์กรของท่านมีการทำงานอยู่ภายใต้มาตราฐานสากลไม่ว่าจะเป็น ISO 9000 (มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ), ISO 14000 (มาตรฐานการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม), ISO 18000 (มาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย) หรือ ISO 17025 (มาตรฐานการประเมินความสามารถทางวิชาการของ ห้องปฏิบัติการ) ท่านอาจจะได้ยินสองคำนี้อยู่อย่างแน่นอน แต่หลาย ๆ ท่านที่อาจจะไม่ได้ทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบมาตราฐานเหล่านี้ อาจจะไม่คุ้นเคยหรือไม่รู้จัก แต่ผมเชื่อว่าทุกท่านอาจจะเคยได้ยินคำว่าทดสอบอยู่บ้าง และอาจจะรู้ความหมายของคำ ๆ นี้อยู่แล้ว แต่สำหรับคำว่าสอบเทียบนั้นหลายท่านอาจจะยังไม่ทราบความหมายและสับสนกับคำ ๆ นี้อยู่ หรืออาจจะเป็นคำที่พึ่งเคยได้ยินเป็นครั้งแรก ในบทความนี้เราจะมาอธิบายความหมายของสองคำนี้อย่างง่าย ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องกันนะครับ

 เริ่มแรกผมขอเปรียบเทียบคำสองคำนี้คือ ทดสอบและสอบเทียบกับการที่เราซื้อรถยนต์นะครับ ซึ่งอาจจะไม่ได้ตรงกับบริบทของสองคำนี้ไปทั้งหมดแต่ก็เพื่อเป็นการเปรียบเทียบเพื่อให้ทุกท่านเห็นภาพอย่างง่าย ๆ โดยก่อนที่เราจะทำการซื้อรถยนต์มาใช้งานนั้นก็ต้องเลือกรถที่ตรงกับความต้องการของเรา เช่น ถ้าท่านต้องการซื้อรถนำมาขนของเล็ก ๆ น้อย ๆ ในธุรกิจค้าขายของเราท่านก็ต้องเลือกรถกระบะขนาด 1 ตัน หากท่านเลือกรถนั่งส่วนบุคคล 4 ประตูหรือรถสิบล้อมาก็อาจจะไม่ค่อยตรงกับบริบทของงานสักเท่าไหร เมื่อตัดสินใจได้แล้วว่าต้องการยี่ห้อนี้ รุ่นนี้ และ ออปชั่นประมาณนี้ ก็ทำการสัญญาซื้อขายกับคนขาย เมื่อทำการรับรถก็ต้องตรวจสอบว่าอุปกรณ์ สเปค (Specification) หรือการทำงานต่าง ๆ ที่ได้รับมานั้นเป็นไปตามที่ผู้ผลิตได้โฆษณาไว้หรือไม่ อันนี้เราอาจจะเรียกเป็นภาษาทางการได้ว่า “การตรวจรับ” และในส่วนของผู้ผลิตนั้นก่อนจะส่งมอบสินค้าที่ผลิตออกมาขายให้กับเรา ทางผู้ผลิตก็ต้องมีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ว่ามีความสามารถหรือการทำงานเป็นไปตามที่ได้โฆษณาไว้หรือไม่ หรือก็คือการควบคุมคุณภาพ (QC, Quality Control) นั้นเอง ซึ่งทั้งสองอย่างที่กล่าวมาก็คือการทดสอบ (Testing) ทั้งสิ้น

Instrument Chain

 และเมื่อเรานำรถนั้นมาใช้งานสักระยะนึงแล้วรถของเราก็ต้องสึกหรือลงไปตามการเวลา เราก็จะนำรถเข้าไปตรวจสภาพที่ศูนย์เพื่อตรวจสอบการทำงานต่าง ๆ ให้มีสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลาก็เปรียบได้กับการสอบเทียบ (Calibration) เช่นเดียวกับเครื่องมือวัดต่าง ๆ ก่อนซื้อเราก็ต้องตรวจสอบหรือทำการทดสอบการทำงานของเครื่องว่าเป็นไปตามที่เราต้องการหรือไม่ ทางผู้ผลิตก็ต้องมีการทดสอบด้วยเช่นกัน และเมื่อใช้งานไประยะหนึ่งก็จะต้องส่งเครื่องมือวัดนั้นเข้ามาทำการสอบเทียบเพื่อเป็นการยืนยันว่าเครื่องมือวัดนั้น ๆ ยังทำงานได้ดีและที่สำคัญคือค่าที่อ่านได้ยังมีความแม่นยำและเที่ยงตรง เพื่อเป็นการรับรองว่าค่าที่อ่านได้จากเครื่องมือวัดนั้น ๆ มีความถูกต้องใช้อ้างอิงได้และมีมาตราฐาน

 การส่งเครื่องมือเข้าทดสอบหรือสอบเทียบนั้นมิใช่ว่าจะส่งไปทำการทดสอบหรือสอบเทียบกับใครหรือที่ใดก็ได้เพราะ ถ้าคุณต้องการการตรวจสอบค่าการวัดที่เป็นสากลแล้วนั้นต้องมองหาห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบที่ได้รับการรับรองมาตราฐานระดับสากลเพื่อเป็นการรับประกันได้ว่าจะมีการทดสอบหรือสอบเทียบที่เป็นมาตราฐาน หรือก็คือการได้รับการรับรองมาตราฐานห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025

SI units และ การสอบกลับได้

 เครื่องมือมาตราฐานที่นำมาทดสอบหรือสอบเทียบนั้นจะต้องสามารถสอบกลับได้ไปจนถึง SI unit (หรือก็คือหน่วยมาตราฐานทั้ง 7 ได้แก่ A, cd, K, kg, m, mol, s) สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก SI base units คำว่าสอบกลับได้หลานท่านอาจจะยังไม่เคยได้ยิน สอบกลับได้หรือ Traceability อธิบายง่ายๆ ก็คือการที่สามารถสืบหาเครื่องมือมาตราฐานที่นำมาทดสอบหรือสอบเทียบเครื่องมือของเรานั้นไปเลื่อยๆ เป็นทอดๆ จนสามารถอิงไปถึงหน่วยมาตราฐาน SI unit ได้นั้นเอง อ่านเพิ่มเติมได้จากสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ สารานุกรมไทย : Traceability

Traceability pyramid Traceability pyramid

แล้วเราดียังไง

 ซึ่งห้องปฏิบัติการสอบเทียบทางแสงของทาง บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) นั้นได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025 ในขอบข่ายทางด้าน Optical Power เป็นแห่งแรกในประเทศไทย และถือได้ว่ามี Accuracy และ Precision ที่สูงอยู่ในระดับต้น ๆ ของอาเซียนเลยก็ว่าได้เพราะเรามีค่า CMC (Calibration and Measurement Capability) ของ Optical Power ที่ได้รับการรับรองอยู่ที่ 0.092 dB หรือ ≈2.14% ทั้งนี้ห้องปฏิบัติการของเรามีเครื่องมือมาตราฐานที่ให้บริการตั้งแต่ระดับ Working Standard ไปจนถึง Primary Standard รองรับทั้งงานทดสอบ สอบเทียบ ปรับเทียบ และซ่อมเครื่องมือวัดทางแสง ทั้งยังครอบคลุมเกือบทุกพารามิเตอร์ของ Optical Fiber ไม่ว่าจะเป็น OTDR, Optical Power, Optical Wavelength, Passive Component, Cut-off wavelength และ Chromatic Dispersion ซึ่งด้าน Optical Power ของเรานั้นสามารถสอบกลับได้ไปจนถึง National Standard หรือเครื่องมาตราฐานระดับชาติ (สถาบันมาตราวิทยาแห่งชาติ)

iso 17025 logo

บทความนี้เป็นเพียงการอธิบายและยกตัวอย่างให้เข้าใจได้อย่างง่ายๆ ถ้าท่านผู้อ่านสนใจเนื้อหาที่ละเอียดกว่านี้ก็ลองศึกษาเพิ่มเติมดูนะครับ มาตราวิทยา